หน้าแรก » สาระน่ารู้ » การทำร้ายสมอง
สาระน่ารู้
อัพเดทล่าสุด 04 กรกฎาคม 2561 , ยอดผู้ชม 664

การทำร้ายสมอง

การทำร้ายสมอง

      ข้อควรตระหนักสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองและพี่เลี้ยงสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครอง และพี่เลี้ยงควรตระหนักที่จะทำร้ายสมองเด็ก ได้แก่

 

คำพูดทางลบ

      คำพูดในทางลบ เช่นการด่าทอ การตำหนิรุนแรง อยู่บ่อย ๆ จะทำให้เด็กรู้สึกไม่มีคุณค่าคำพูดของผู้ใหญ่ที่ตราหน้าเด็กทุกๆวันจะส่งผลให้เด็กรู้สึกถดถอยไร้ค่า มีผลต่อการหลั่งของสารเคมีที่เกี่ยวข้องต่อการเรียนรู้ในสมอง ดังนั้นอย่าตำหนิรุนแรงเมื่อเด็กทำผิดพลาดหรือทำอะไรที่ไม่เหมาะสมการตำหนิเด็กอย่างรุนแรงซ้ำ ๆ บ่อยครั้งจะให้ผลร้ายกับจิตใจเด็ก กลายเป็นคนไม่มั่นใจในตัวเอง รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า คนอื่นไม่ค่อยชอบเขา ฉะนั้นพ่อแม่ไม่ควรตำหนิเด็กพร่ำเพรื่อ หรือบ่อยครั้งและไม่ควรใช้คำพูดที่บาดใจเด็ก เช่น โง่ เซ่อ ปัญญาอ่อน เป็นต้น

 

ปกป้องหรือปล่อยปละละเลย

      การปกป้องเด็กมากเกินไปหรือเลี้ยงแบบไข่ในหินไม่ให้ลูกได้ทำอะไรเลยจะส่งผลให้เด็กไม่มีทักษะในการแก้ไขปัญหาและทักษะความคิดด้านต่าง ๆ รวมทั้งยังทำให้เป็นคนที่อ่อนแอไม่แข็งแกร่งย่อท้อต่ออุปสรรคได้ง่าย ๆ สมองไม่ได้พัฒนาในการใช้คิดชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะการคิดแก้ไขปัญหาที่ใช้สมองส่วนที่มีศักยภาพสูงสุด ขาดความภาคภูมิใจและความเชื่อมั่นในตนเองกลายเป็นเด็กขาดทักษะทางพฤติกรรมที่แสดงออก ไม่กล้าคิดไม่กล้าทำ ไม่กล้าตัดสินใจ ต้องคอยพึ่งผู้อื่นตลอดเวลาอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ยาก มีปัญหาในการปรับตัว อาจมีบุคลิกภาพแปรปรวน ส่วนการปล่อยปละละเลยมากไปก็ทำให้เด็กขาดวินัย ทำอะไรไม่เป็นไม่ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของเขา แม้ว่าพ่อแม่จะอยู่บ้านเดียวกันกับลูกๆ แต่ลูกๆก็ขาดความใกล้ชิดกับพ่อแม่

 

การเร่งเรียนการคาดหวังสูง

      การเร่งเรียน โดยไม่ได้ดูว่าพัฒนาการช่วงนั้น ๆ สมควรที่จะใส่อะไรให้เด็ก แต่ หากเราไปใส่ผิดช่วงวัย ทำให้โอกาสในการพัฒนาสมองส่วนที่เกี่ยวข้องในช่วงวัยนั้นกลับหายไป เช่น วัยก่อนอนุบาลกลับให้บังคับ อ่านออกเขียนได้ทั้งๆ ที่ช่วงวัยนี้ ควรจะให้เด็กได้พัฒนาสมองส่วนความคิดสร้างสรรค์ ทำให้สมองส่วนความคิดสร้างสรรค์กลับไม่ได้พัฒนา ส่งผลอันตรายต่อเด็กเมื่อเติบโตไปในวัยผู้ใหญ่ที่ต้องใช้สมอง ส่วนนี้ในการคิดพลิกแพลง สร้างมูลค่าของผลผลิตหรืองานที่เราประกอบอาชีพ ดังนั้นพ่อแม่ทุกคน จึงต้องมีองค์ความรู้ที่ถูกต้องจะได้ไม่ทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว

 

ผลกระทบจากความขัดแย้งของพ่อแม่ ในการเลี้ยงลูก

      จะทำให้เด็กสับสน ทำตัวไม่ถูกต้องหากพ่อแม่ขัดแย้งรุนแรงก็จะสร้างตราบาปให้เด็กทำให้ไม่มั่นคงในชีวิตเกรงว่าพ่อแม่จะแยกทางกันและเด็กอาจจะมี การเอาแต่ใจ เมื่อพ่อห้ามก็จะไปหาแม่ เมื่อแม่ห้ามก็จะไปหาพ่อมีคนถือหางตลอดซึ่งส่งผลให้เด็กเอาแต่ใจตนเองได้ ไม่เคารพผู้ใหญ่

 

สภาพแวดล้อมแบบอย่างที่ไม่ดีความก้าวร้าวความรุนแรง

      ส่งผลให้สมองเด็กเลียนแบบไม่ดีและทำตัวไม่ดีตามแบบผู้ใหญ่ทั้งหมด สิ่งแวดล้อมที่ไม่ดียังทำให้การเรียนรู้ของเด็กลดลง
      สาเหตุของการก้าวร้าวความรุนแรงมักเกิดจาก
1.การถูกทอดทิ้งปล่อยปละละเลย พ่อแม่ไม่เอาใจใส่ไม่เห็นคุณค่าของลูกหรือให้เวลาผูกพันใกล้ชิดกับลูกน้อยเกินไปเด็กจะขาดความรักความอบอุ่น ขาดความสุข
2.ครอบครัวที่แตกแยกมีการทะเลาะวิวาททำร้ายกัน ใช้ถ้อยคำรุนแรง ด่าว่า
3.พ่อแม่ไม่มีความพร้อมที่จะมีลูก มีปัญหาทางเศรษฐกิจเห็นว่าเด็กเป็นปัญหาความยุ่งยากของครอบครัว
4.สาเหตุอื่น ๆ เช่น มีลูกมาก พ่อแม่แสดงความลำเอียงรักพี่หรือน้องมากกว่าทำให้เด็กเกิดความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ

 

ทีวีมีผลต่อเด็กอย่างไร

      การสอนเด็ก ๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ดีในการดูทีวีแนวทางต่อไปนี้ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้จริงเพื่อให้การดูทีวีของครอบครัวคุณ ให้คุณมากกว่าโทษ
1.จำกัดเวลาดูทีวี ควรวางทีวีไว้ในห้องที่มีสิ่งบันเทิงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่จอสี่เหลี่ยม(เช่น หนังสือ นิตยสารสำหรับเด็ก ของเล่น เกมปริศนา กระดาน หมากรุก เป็นต้น) เพื่อส่งเสริมให้ลูกๆ ของคุณทำอย่างอื่นนอกจากดูทีวี
2.ไม่ควรมีทีวีในห้องนอนลูก
3.ปิดทีวีในระหว่างรับประทานอาหาร
4.ไม่อนุญาตให้ลูกดูทีวีไป ทำการบ้านไป
5.ทำให้การดูทีวีเป็นเหมือนสิทธิพิเศษที่คุณยอมอนุญาตให้ลูกบางครั้งบางคราว แต่ไม่ใช่สิทธิ์ที่ต้องได้เสมอไปบอกกับลูกๆ ว่าจะดูทีวีได้ก็ต่อเมื่อทำการบ้านและงานบ้านเสร็จหมดแล้ว
6.ทดลองหยุดทีวีสักสัปดาห์หนึ่ง เพื่อการอยู่พร้อมหน้ากันของครอบครัว เช่น รับประทานอาหารร่วมกัน เล่นเกม ทำกิจกรรมกลางแจ้งและอ่านหนังสือจะดีกว่า
7.เป็นตัวอย่างที่ดีโดยการจำกัดเวลาดูทีวีของคุณเอง
8.ดูรายการทีวีที่จะให้ลูกดูเสียก่อน
9.กำหนดตารางเวลาการดูทีวีของครอบครัวในแต่ละสัปดาห์ซึ่งทุกคนในครอบครัวเห็นพ้องด้วยและติดตารางเวลาไว้ในบริเวณที่เห็นชัด(เช่นหน้าตู้เย็น)
เพื่อให้ทุกคนรู้ว่ารายการใดที่สามารถดูได้และในเวลาใดและต้องแน่ใจว่าจะไม่มีใครเปิดทีวีในเวลาอื่น
10.ดูทีวีร่วมกับลูกถ้าคุณไม่สามารถดูทีวีจนจบรายการก็ให้ดูช่วงสองสามนาทีแรกเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ทราบว่ารายการนั้นเหมาะสมหรือไม่หรือคอยเช็คดูเป็นระยะๆ ตลอดรายการ
11.พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นบนจอทีวีและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและค่านิยม(สำหรับเด็กโต) ถ้ามีอะไรที่คุณไม่เห็นด้วยปรากฏขึ้นบนหน้าจอ คุณอาจปิดทีวีและใช้โอกาสนี้ถามคำถามที่กระตุ้นให้ลูกคิดเป็นต้นว่า “ลูกคิดว่าเหมาะสมไหมที่คนเหล่านั้นจะใช้กำลัง พวกเขาน่าจะทำอะไร ได้อีกไหม ถ้าเป็นลูก ลูกจะทำยังไง” คุณสามารถใช้ทีวีอธิบายถึงสถานการณ์ที่สร้างความสับสนหรือเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน (เช่น เรื่องเพศ ความรัก สุรา การสูบบุหรี่ ฯลฯ) สอนลูกคุณให้รู้จักตั้งคำถามและเรียนรู้จากสิ่งที่เห็นจากทีวี
12.พูดคุยกับพ่อแม่ท่านอื่น ๆ หรือคุณครูที่โรงเรียนเกี่ยวกับนโยบายการดูทีวีของพวกเขาและรายการสำหรับเด็กที่เหมาะสมในทัศนะของพวกเขา
      เพราะฉะนั้นการที่ทุกคนให้เด็กเรียนวิชาการมากมายการบ้านก็มาก กวดวิชาก็มากเป็นการทำร้ายเด็กทางอ้อมโดยไม่รู้ตัวซึ่งไม่สามารถเรียกสมองส่วนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ ไหวพริบ ความคิดแปลกแตกต่าง การแก้ปัญหาเป็นการกลับคืนมาได้เพราะเด็กจะไม่มีทักษะในการใช้ชีวิตในสังคมเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เมื่อพบปัญหาก็ไม่สามารถแก้ไขได้ พ่อแม่ไม่ได้อยู่เคียงข้างเขาไปตลอด เพราะฉะนั้นควรให้ลูกมีเวลาได้เล่นออกกำลังกาย การทำงาน ทำกิจกรรมต่าง ๆ และแก้ปัญหาด้วยตนเองบ้างเจออุปสรรคบ้างในระดับมหาวิทยาลัยก็ควรจะให้เด็กไปฝึกในสาขาคณะที่เรียนจากประสบการณ์จริงเพื่อนำมาแก้ปัญหาในห้องเรียน

ถ้าไม่อยากเสียลูกไป
อย่าทำ ให้ทำ
อย่าตามใจลูกทุกอย่าง ให้มีผิดหวังและมีเสียใจบ้าง
อย่าเอาแต่ดุด่าเด็ก หาทางชมเชยบ่อย ๆ เมื่อทำดีให้กำลังใจ
อย่าทำให้ลูกทุกอย่าง ให้ลูกช่วยเหลือตัวเองตามวัย โตขึ้นช่วยงานพ่อแม่ทำงานหาเงินใช้เองบ้าง
อย่าคาดหวังสูงอย่ากดดันเด็ก ทำได้แค่ไหนก็แค่นั้นเพราะเขายังเป็นเด็กดูความต้องการของเขา
อย่าหวังแต่ผลการเรียนดี ๆ ให้เขาได้ทำในสิ่งที่เขาชอบดูความถนัด ความสนใจ
อย่าให้แต่เรียนอย่างเดียว มีเวลาให้เล่นตามวัย ทำกิจกรรม ทำงาน
อย่าบ่นกับวัยรุ่นมาก ฟังเขาพูดให้มาก ผู้ใหญ่คอยแนะนำและให้เขาตัดสินใจเอง
อย่ามัวแต่หาเงิน มีเวลาปลูกฝังความดีรู้คุณค่าของชีวิต
อย่าบังคับ/เข้มงวดมากไป มีเวลาสังเกตพฤติกรรม/สีหน้า/ท่าทางพูดคุยและทำตัวเป็นเพื่อนเล่นโดยเฉพาะพ่อ
อย่าเลี้ยงแบบไข่ในหิน ให้ช่วยตัวเองตามวัย โตขึ้นช่วยงานพ่อแม่
อย่าลำเอียง ให้เวลา/ความรัก/สิ่งของเท่าเทียมกัน
อย่าเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีอย่าตบตีทะเลาะกันให้เด็กเห็น ต้องการให้ลูกเป็นอย่างไร เราต้องเป็นอย่างนั้นก่อน
อย่าให้เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์มากเกินไป เช่น เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน มอบหมายภาระงานให้รับผิดชอบบ้างจะได้ไม่มีเวลาว่างมากเกินไป


ความสำคัญของสมอง


      มนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้มีความสามารถความถนัด ศักยภาพแตกต่างกันบางคน ไม่มีความรู้ระดับปริญญา แต่สามารถสร้างตนเองจนเป็นคนร่ำรวยอันดับต้นๆ ของเมืองไทย โดยไม่ต้องใช้เส้นทางลัด เช่น อาชีพแต่เขาใช้ความสามารถในการคิด และประสบการณ์หลายๆ คนคงจะเคยได้ยิน ได้ฟัง ได้ประสบมา ทำไมคนเหล่านั้นจึงมีความสามารถในการประกอบอาชีพ สุจริต ความสามารถในการอยู่รอด ความสามารถในการประกอบอาชีพ สุจริต ความสามารถในการดำรงชีวิตจนร่ำรวยได้ โดยไม่ต้องอาศัยปริญญาบัตร แน่นอนความสามารถเหล่านี้ต้องมาจากมันสมองที่ฉลาดและประสบการณ์ที่ได้รับมาอย่างครบถ้วน มันสมองจึงเป็นอวัยวะสำคัญที่จักพาชีวิตของทุกคนดำรงชีวิตอย่างมีความสุขไม่ต้องอดมื้อกินมื้อถ้าปราศจากการสั่งการจากสมองแล้วเราคงจะทำอะไร ไม่ได้เลย
      ปัจจุบันได้มีวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสมองมากมายที่ช่วยให้ พ่อแม่ผู้เลี้ยงดู สามารถพัฒนาสมองของบุตรหลานให้ฉลาด เพิ่มความสามารถเพิ่มศักยภาพได้ เพียงแต่การส่งเสริม สนับสนุนเลี้ยงดูจากพ่อแม่ ผู้ปกครองและครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ที่มีองค์ความรู้ที่ถูกทิศทาง เท่านั้น

สมองและเซลล์สมอง

      สมองคนเราเริ่มก่อตัวตั้งแต่หลังปฏิสนธิ 2 สัปดาห์ในครรภ์ปัจจัยที่ได้รับขณะตั้งครรภ์ ก็จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองเช่นกัน เช่นแม่ต้องมีอารมณ์ดี มีอารมณ์ขัน มีความสุข ไม่เครียดไม่ซึมเศร้า ไม่วิตกกังวล ไม่ขี้โมโห ได้รับสารอาหารที่ครบทุกชนิดโดยเฉพาะธาตุเหล็กไอโอดีนโปรตีนโฟลิก วิตามินฯ ได้ฟังเพลงที่ชอบ การออกกำลังกาย การนั่งสมาธิ การได้น้ำอย่างเพียงพอ การได้รับอากาศที่บริสุทธิ์ การไม่ได้รับสารพิษ เช่น บุหรี่ เหล้ายาเสพติด การได้รับความรัก ความอบอุ่นและกำลังใจจากสามีฯ หรือครอบครัว
      หลังคลอดสมองหนักประมาณ 1 ในสามของผู้ใหญ่ สมองมีส่วนประกอบอยู่หลายส่วน แต่ที่สำคัญหลักๆ คือ สมองประกอบด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ จำนวนเซลล์สมองเมื่อทารกเกิดมีประมาณหนึ่งแสนล้านเซลล์มีใยประสาทประมาณ 20% ของผู้ใหญ่และจะมีมากที่สุดในวัย 3 ขวบ หลังจากนั้นจะถูกตัดแต่งในส่วนที่ไม่ค่อยใช้จะหดหายไป หลังจากคลอดแล้วจำนวนเซลล์สมองไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนักแต่จะขยายตัวใหญ่ขึ้นและเพิ่มสายใยประสาทเพื่อเชื่อมและสื่อสารกันระหว่างเซลล์จำนวนใยประสาทมากน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมการกระตุ้นต่าง ๆ กิจกรรมการละเล่น ประสบการณ์ต่าง ๆ การส่งเสริมสนับสนุนจากพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูครูบาอาจารย์ ที่สำคัญ คือ ยิ่งมีใยประสาทมากยิ่งฉลาดมากและเรียนรู้ได้เร็ว
      เซลล์สมองที่เกี่ยวกับการเรียนรู้มี 2 อย่าง คือ Neurons และ Glial cells ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ส่วนบนของสมองชั้นนอก(Neocortex)
      การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เมื่อเซลล์สมอง (Neurons) 2 ตัวติดต่อกันโดยผ่านทางสายใยประสาทสางผ่านไปให้เซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่งโดยใช้สารเคมี เพื่อผ่านไปยังอวัยวะที่เกี่ยวข้องหรือเซลล์สมองที่เกี่ยวข้องต่อไป ส่วนการสื่อสารภายในเซลล์สมองเป็นการใช้ระบบกระแสไฟฟ้าแม้ว่าจำนวนสมองเท่าเดิม แต่ก็อาจสูญเสียการทำงานของสมองส่วนนั้นได้ ซึ่งเกิดจากเซลล์สมองที่ไม่ได้ถูกใช้ในช่วงเวลาที่เหมาะสมโดยเฉพาะในวัยที่กำลังเจริญเติบโตเรียกว่า Neural pruning (Diamonds&Hopson 1998) ซึ่งเราจะสูญเสียความทรงจำ ไม่เกิดการเรียนรู้และการทำงานของเซลล์สมองกลุ่มนั้นเช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆของร่างกาย ที่มีการสูญเสียการทำงานหากไม่ได้ใช้นาน ๆเช่น กล้ามเนื้อแขนขาลีบเล็กคนอัมพาต
      ความหนาแน่ของใยประสาทและธรรมชาติของสมองสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (เรียกว่า Neural Plasticity) ขึ้นกับประสบการณ์อาหาร การเลี้ยงดู การละเล่นและทักษะต่าง ๆ ที่สมองได้รับหากสมองได้รับการฝึกในให้ใช้ความคิดในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การแก้ปัญหา จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เด็กก็จะคิดแก้ปัญหาเป็น มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เป็นแต่ต้องตรงข้ามหากไม่ได้ฝึกคิดอะไรเลย มีแต่การเรียนเนื้อหาความรู้ให้มีความจำอย่างเดียวนานๆ สมองก็จะคิดชนิดอื่นๆ ไม่ออก แก้ปัญหาไม่เป็นมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์น้อย
      การทำงานของสมองตั้งแต่เซลล์ประสาทจนถึงการสั่งงานในหน้าที่ต่าง ๆ เป็นการทำงานของเซลล์ประสาทโดยใช้ระบบสารเคมีไฟฟ้าเซลล์ประสาทเหล่านี้จะทำงานกันเป็นกลุ่ม เซลล์ประสาท 1 ตัว จะติดต่อกับเซลล์ประสาทอื่นเป็นหมื่นๆ เซลล์โดยผ่านทางเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อเซลล์ประสาท
      ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไรการกระตุ้นการให้สมองได้ใช้ความคิดแก้ไขปัญหา คิดพลิกแพลง การใช้กระบวนการคิดรูปแบบต่างๆ การละเล่นการทำงานตามวัยการช่วยเหลือตัวเองตามวัย หรือการทำกิจกรรมต่างๆ จะช่วยให้สมองเจริญเติบโตได้ดีและประสบการณ์ต่างๆ ที่ดีๆ จะทำให้สมองเจริญเติบโตดี แต่ต้องมีส่วนในการให้คิดและร่วมลงมือทำอย่างแท้จริง
      เราจะพบว่าสมองจะเจริญเติบโตได้ดีจาก
1) สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดีและอาหารที่ครบห้าหมู่ เช่น ผักผลไม้ ไข่ นม เนื้อสัตว์ ธัญพืช ฯลฯ
2) มนุษย์เป็นสัตว์สังคมและการเรียนคือการมีกิจกรรมทางสังคมที่ใช้ความคิดอยู่เสมอ เราเรียนดีขึ้นเมื่อ เราทำงานกลุ่ม
3) ความสัมผัสอันอ่อนโยนอบอุ่นความมีเมตตาในการเลี้ยงดูหรือดูแล
4) มีปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งแวดล้อม
5) สมองจะไวต่อสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์โดยเฉพาะในระยะวัยเด็ก ๆ(ประมาณก่อน 10-12ปี)
6) สมองควรจะถูกใช้และถูกระตุ้นทุกอายุทุกๆด้านและใช้สมองคิดในสิ่งต่าง ๆ ทุกด้าน
7) การเล่นเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการเรียนรู้และพัฒนาการเจริญเติบโตของสมองในเด็กเล็ก ส่วนเด็กโตก็ เป็นการทำกิจกรรมต่าง ๆ การทำงาน ช่วยเหลือตนเองตามวัย การทำงานช่วยเหลือพ่อแม่
8) ในการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการทำให้สิ่งแวดล้อมในขณะเรียนรู้มีแรงกดดัน/ความเครียดน้อยสุด รวมถึง ภาวะอารมณ์ของผู้ใกล้ชิดและกระตุ้นให้เด็กในทุกรูปแบบไม่ว่าความคิดสร้างสรรค์ คิดจินตนาการคิดแก้ปัญหาคิดวิเคราะห์ ฯลฯ
9) การที่จะให้เด็กเป็นคนดีต้องปลูกฝังสิ่งดี ๆ ตั้งแต่เล็ก ๆและให้มีแบบอย่างที่ดีต่อเด็กๆ ไม่เอาภาพ ความรุนแรงก้าวร้าวมาให้เด็กเรียนรู้
      การมีปฏิกิริยาต่อสังคม,การเลี้ยงดูที่ดี,ความรัก การสัมผัสอันอ่อนโยน,ความคิดดีมีเมตตาธรรม การใช้ สมองคิดทำงานต่าง ๆ ที่ท้าทายและการเล่นต่าง ๆ การทำกิจกรรมกลุ่มสภาพการเรียนรู้ที่ไร้แรงกดดันล้วนมีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองและใยประสาทไม่ว่าจะเป็นที่บ้านโรงเรียนที่ทำงานซึ่งมีผลอย่างมากต่อการเรียนรู้

 

ความเครียดและการลัดวงจร(Stress and Downshifting)

      สารเคมีที่หลั่งออกมาเวลาเครียด(เช่น คอรทิซอล:cortisol)จะหยุดยั้งการทำงานของสาร ส่งสัญญาณ ทางประสาทในเส้นทางปกติแต่จะมีการส่งสัญญาณลัดวงจรเกิดขึ้น (Downshifting) เป็นการเปลี่ยนระบบการสั่งงานของสมอง เช่น เมื่อเราเดินเข้าไปในห้างสรรพสินค้า กำลังตัดสินใจว่าเราจะไปที่ไหนและซื้ออะไร แต่เมื่อเราเร่งรีบเกรงว่า จะไปทำงานไม่ทันหรือความกลัว ว่าเจ้านายจะมาเห็นเราหนีงานมา จะคอยเตือนอยู่ตลอดเวลาและเป็นเหตุให้สมองทำงานลัดวงจรโดยไม่ผ่านไปที่สมองส่วนความคิดระดับสูงและความทรงจำเช่นเคยแต่กลับอยู่ในชั้นอารมณ์ ซึ่งเป็นสัญชาตญาณเกิดภาวะทางอารมณ์และการเอาตัวรอดเกิดขึ้น ทำให้เราลืมของบางอย่าง ที่ต้องการซื้อได้ ทั้งยังทำลายระบบการทำงานของสมองส่วนที่เก็บหน่วยความจำที่ทำให้เราจำได้นานๆ (Jensen,1998) แต่ความเครียดหรือความกดดันชั่วคราวบางอย่างก็มีประโยชน์เหมือนกัน เพราะจะช่วยให้เราตอบสนองปัญหาแปลกๆ เช่น การสัมภาษณ์งาน การนำเสนองาน ก่อนสอบ การเตรียมตัวผ่าตัด แต่ถ้าเกิดภาวะเครียดมากๆ เป็นประจำทุกวัน ผลก็จะต่างกันออกไป เงื่อนไขนี้อาจเป็นสาเหตุที่เกิดการทำลายเซลล์ประสาท(Neurons) (Khalsa,1997)
      สมองเด็กวัยรุ่น พบหลักฐานที่บ่งบอกว่า มันสมองเกี่ยวกับการตอบสนองทางอารมณ์มีการเปลี่ยนแปลงในวัยรุ่น การเชื่อมโยงของสายใยประสาท ขึ้นกับสภาพอารมณ์ ซึ่งเหมือนกันทุกวัยแต่การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนความเครียด จะมีผลต่อการตอบสนองของสมองและพฤติกรรมวัยรุ่น การอดนอน การนอนน้อย ล้วนมีผลต่อภาวะซึมเศร้าพฤติกรรมก้าวร้าว การเจริญเติบโตของร่างกายและสุขภาพทางอารมณ์
      สมองเด็กวัยรุ่นเริ่มมีเยื่อหุ้ม Myelin มากขึ้นทำให้การเรียนรู้เร็วและมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การวางแผน ความคิดสลับซับซ้อนเพิ่มขึ้น
      เพราะฉะนั้นบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งพ่อแม่ –ครูพี่เลี้ยงต้องคอยระมัดระวังความเครียดหรือเหตุการณ์ที่จะสร้างแรงกดดันเกิดขึ้นกับเด็กแต่ให้สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีระวังอารมณ์เครียดของตนเองที่จะมีผลต่อการเรียนของเด็กด้วยและต้องเตือนตัวเราเองหรือบุตรหลานอย่าทำงาน/เรียนหนักเกิดเหตุจนชีวิตขาดความสุข ขาดการพักผ่อน ออกกำลังกายเราต้องมีสติเตือนและรู้ตัวเราเองว่า ขณะนี้ กำลังเครียดแล้วนะ คือ มีอาการสมองตื้อไปหมด คิดอะไรไม่ออกหรือไม่ปล่อยใจหรือความคิด ให้จมอยู่กับความทุกข์ ความผิดหวังความเศร้า หรือความโกรธแค้น นานเกินไปตลอดเวลา เพราะจะเกิดผลเสียตามมามากมายไม่คุ้นกันและสิ่งที่ผ่านไปแล้วไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้เสียใจอย่างไร ก็ไม่ช่วยอะไรให้ดีขึ้น และไม่มีใครสามารถเตือนตัวเราตลอดเวลาได้นอกจาก ตัวเราเองและ ครู/พ่อแม่ ต้องนึกตลอดเวลาว่า สมองเด็กกำลังเจริญเติบโต และต้องคำนึงถึงว่าเด็กต้องใช้เวลา อยู่กับครูนานกว่าพ่อแม่ซึ่งแสดงว่าสมองส่วนใหญ่นั้นล้วนแต่มีผลจากครู และต้องคำนึงถึงว่าสมองเด็ก ต้องการหาสิ่งใหม่ ๆ ประสบการณ์ใหม่ ๆมาเรียนเสมอ ต้องการตัวกระตุ้นแต่ไม่ใช่วิชาการมากมายซ้ำซากเกินไป จนทำให้เด็กมีความทุกข์โดยให้ความรู้เฉพาะที่ใช้ประโยชน์ ได้จริงไม่ซ้ำๆซาก ๆ ต้องมีความพอดีในการให้ความรู้ เด็กและการทำกิจกรรมออกกำลังกลายการพักผ่อน การกระตุ้นการใช้สมองในรูปแบบต่าง ๆ และเราต้องดูแลสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอารมณ์ของครู/พ่อแม่ที่จะมีผลต่อสมองเด็กและการเรียนรู้

สมองเจริญเติบโตดี(ฉลาด)
(โดยเฉพาะต่อกลุ่มวัยรุ่น)
สมองถูกทำลาย
(เป็นได้ทุกวัย)
- การละเล่นต่าง ๆ เล่นกับเพื่อน ๆ
- ช่วยเหลือตัวเองตามวัย
- ได้ทำงานด้วยตนเอง
- ออกกำลังกายเพิ่มออกซิเจนไปสมอง
- การได้ทำกิจกรรมกลุ่ม
- มีปฏิสัมพันธ์กับสังคม
- ได้ทำหรือเรียนสิ่งที่ชอบ
- ได้รับคำชมเชยเสมอ
- ความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่/ผู้ใกล้ชิด
- การละเล่นต่าง ๆ เล่นกับเพื่อน ๆ
- ช่วยเหลือตัวเองตามวัย
- ได้ทำงานด้วยตนเอง
- ออกกำลังกายเพิ่มออกซิเจนไปสมอง
- การได้ทำกิจกรรมกลุ่ม
- มีปฏิสัมพันธ์กับสังคม
- ได้ทำหรือเรียนสิ่งที่ชอบ
- ได้รับคำชมเชยเสมอ
- ศิลปะ ดนตรี กีฬา ออกกำลังกาย ร้องเพลง ตามความชอบและอิสระ ไม่ใช่ท่องทฤษฎี
- ได้รับการศึกษาที่เหมาะสมสร้างกระบวนการคิดด้านต่าง ๆ มากกว่าเน้นความจำ หรือเนื้อหามากมายจนไม่มีได้ฝึกกระบวนการคิด
- สัมผัสของจริง ทัศนศึกษา
- ได้คิดจินตนาการ เช่น การฟังนิทาน การละเล่นสมมุติ
- มองตนเองในแง่บวก เป็นคนยืดหยุ่นมีอารมณ์ขัน อารมณ์ดี
- อาหารครบห้าหมู่ โดยเฉพาะปลา นม ไข่ ถั่วเหลือง ไอโอดีน วิตามีนบี ผัก ผลไม้ ข้าวงอก ข้าวกล้อง น้ำที่เพียงพอ
1. ความเครียดนาน ๆ จากสาเหตุ
- ทำงาน/เรียนหนัก บ้างาน การบ้านมาก
- ถูกบังคับให้เรียนหรือทำงานในสิ่งที่ไม่ชอบ
- ถูกดุด่าทุกวัน
- ขาดความรัก ความอบอุ่น
- ขาดการออกกำลังกาย พักผ่อน
- เข้มงวดเกินไป
- มองตนเองในแง่ลงตลอดเวลา
2. ความเครียดนาน ๆ จากสาเหตุ
- ทำงาน/เรียนหนัก บ้างาน การบ้านมาก
- ถูกบังคับให้เรียนหรือทำงานในสิ่งที่ไม่ชอบ
- ถูกดุด่าทุกวัน
- ขาดความรัก ความอบอุ่น
- ขาดการออกกำลังกาย พักผ่อน
3. สมองไม่ได้ถูกระตุ้นหรือถูกใช้เลย เช่น การคิด จินตนาการ ความคิดแปลกแตกต่าง คิดแก้ปัญหา คิดนอกกรอบ คิดแปลกๆใหม่ ทำให้ไม่มีการสื่อสารระหว่างเซลล์อย่างสม่ำเสมอจะทำให้สมองฝ่อ ส่งผลให้ สูญเสียความจำทั้งเก่าและใหม่
4. การอดนอน
5. ความกังวล โกรธ ซึมเศร้า ความแค้น ความทุกข์สะสมนาน ๆ
6. ขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น ไอโอดีน ธาตุเหล็ก
7. การเล่นเกมส์ที่มากเกินไปมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะเกมส์ไม่สร้างสรรค์ ก้าวร้าวต้อสู้
8. ได้รับสารพิษ เช่น บุหรี่ เหล้าสารตะกั่ว สารเสพติด(ความเครียดนานาๆ จะยับยั้งการเรียนรู้ ทำลายสมอง เกิดโรงมะเร็ง ภูมิแพ้โรคหัวใจSLE โรคกระเพาะ ฯลฯ)