หน้าแรก » สาระน่ารู้ » คนทำงานกลางแจ้ง รับมืออันตรายจากพายุฤดูร้อน
สาระน่ารู้
อัพเดทล่าสุด 27 เมษายน 2563 , ยอดผู้ชม 687

คนทำงานกลางแจ้ง รับมืออันตรายจากพายุฤดูร้อน

คนทำงานกลางแจ้ง
รับมืออันตรายจาก ‘พายุฤดูร้อน’
.
ในช่วงเดือนเมษายน จะเกิดพายุฤดูร้อนได้บ่อยครั้ง
จึงทำให้คนทำงานกลางแจ้ง (เกษตรกร รับจ้าง ผู้ใช้แรงงาน) ได้รับอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต จากเหตุการณ์ต่างๆ เช่น ฟ้าผ่า หรือบ้านเรือนพังเสียหายจากลมพัดรุนแรง
เนื่องจาก #ฟ้าผ่า มักจะเกิดกลางทุ่งนา ต้นไม่ใหญ่ หรือกระท่อมกลางนา
เราจึงขอนำคำแนะนำ ว่าควรจะหลีกเลี่ยงอันตรายจากฟ้าผ่าอย่างไร ควรทำอะไรและไม่ควรทำอะไรบ้าง ดังนี้ค่ะ
.
สิ่งที่ ‘ควร’ ทำ
.
1. ควรฟังประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา หากประกาศว่าจะเกิดพายุฤดูร้อน ควรงดออกไปทำงานกลางแจ้ง
เพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานกลางทุ่ง/นา/ไร่/สวน ในระหว่างที่มีฝนฟ้าคะนอง
2. หากเห็นว่าฝนกำลังจะตกหรือมีลมแรง ควรออกจากกลางทุ่งนา หรือที่โล่งแจ้ง
กลับเข้าที่พักอาศัยทันที ไม่ควรทำงานจนฝนเริ่มตก
3. ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่สัมผัสน้ำ 
เช่น การลงเล่นน้ำ ทั้งในทะเล แหล่งน้ำ บ่อ หนอง คลอง บึง ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าได้

สิ่งที่ ‘ไม่ควร’ ทำ
1. ขณะที่ฝนตกฟ้าคะนอง ไม่ควรเข้าไปยืนหลบใต้ต้นไม้ใหญ่ กระท่อมกลางนา
ควรหาที่หลบในบ้านหรืออาคารที่มีกำแพงล้อมรอบ
และควรยืนให้ห่างจากผนัง หน้าต่าง หรือประตูบ้าน
ในกรณีที่หาที่หลบไม่ได้ ให้ทำให้ตัวต่ำลงด้วยการนั่งยอง ๆ ซุกศีรษะไว้ ระหว่างเข่า ให้แขนทั้งสองข้างแนบเข่า เอามือปิดหูไว้ เท้าทั้งสองข้างชิดกันหรือเขย่งอยู่บนปลายเท้า เพื่อให้มีผิวสัมผัสกับพื้นดินให้น้อยที่สุด
และให้ส้นเท้าทั้งสองข้างแตะกัน ‘ไม่ควรหมอบตัวราบไปกับพื้น’ เพราะกระแสไฟฟ้าอาจจะวิ่งมาตามพื้นดินได้
2. ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างอยู่นอกอาคาร ขณะที่มีพายุ และฝนตก
3. ไม่ควรสัมผัสกับโลหะทุกชนิดที่อาจเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า
เช่น การสวมเครื่องประดับที่ทำด้วยโลหะ การสวมเสื้อผ้าที่มีกระดุม เข็มขัดที่ทำด้วยโลหะ งดสัมผัสหรือใช้อุปกรณ์การทำงานที่เป็นโลหะต่าง ๆ (เครื่องมือซ่อมแซม/เครื่องมือการเกษตร) ฯลฯ
ถ้าพบผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกฟ้าผ่า ให้โทรแจ้งเหตุที่หมายเลขฉุกเฉิน 1669
ด้วยความปรารถนาดีจาก #โรครว้ายๆวัยทำงาน
.
ที่มา:
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค