หน้าแรก » สาระน่ารู้ » คู่มือกักตัว สำหรับกลุ่มเสี่ยง ถ้าต้องอยู่ร่วมกับคนอื่น
สาระน่ารู้
อัพเดทล่าสุด 05 เมษายน 2563 , ยอดผู้ชม 664

คู่มือกักตัว สำหรับกลุ่มเสี่ยง ถ้าต้องอยู่ร่วมกับคนอื่น

คู่มือกักตัว สำหรับกลุ่มเสี่ยง
ถ้าต้องอยู่ร่วมกับคนอื่น
.
ถ้าหากคุณเป็นคนที่เพิ่งเดินทางกลับจากต่างประเทศ
หรือมีประวัติเข้าใกล้/สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ #Covid19
ทำให้ต้องกักตัวในที่พักเป็นเวลา 14 วัน
.
แต่ถ้าระหว่างนั้น ยังมีสมาชิกในครอบครัว หรือคนอื่นอยู่ในที่พักอาศัยด้วย ควรมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
.
#โรครว้ายๆวัยทำงาน
.
1) สังเกตอาการตนเองทุกวัน�
ทั้งกลุ่มเสี่ยงและคนอื่นๆ ในที่พัก ควรสังเกตอาการตนเองทุกวัน เช่น วัดอุณหภูมิ หากพบว่ามีไข้ อุณหภูมิ > 37.5 องศาเซลเซียส ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ เช่น ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย ให้ไปพบแพทย์ ทั้งนี้ขณะเดินทางไปโรงพยาบาล ไม่ควรใช้รถสาธารณะ ควรเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว โดยสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
.

2) สุขอนามัย
ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่อย่างน้อย 20 วินาที กรณีไม่มีน้ำและสบู่ ให้ลูบมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นอย่างน้อย 70%
.
3) เมื่อไอ/จาม
พยายามปิดปากจมูกด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ไอจาม โดยปิดถึงคาง แล้วทิ้งทิชชูลงในถุงขยะ 2 ชั้น และทำลายเชื้อโดยราดด้วยน้ำยาฟอกขาว แล้วมัดปากถุงให้แน่น นำไปทิ้งรวมกับขยะทั่วไป หรือใช้แขนเสื้อปิดปากจมูกเมื่อไอหรือจาม และทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทันที
.
4) Social Distancing
หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดบุคคลอื่นในที่พักอาศัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ และควรอยู่ห่างจากคนอื่นๆ ไม่น้อยกว่า 1-2 เมตร หรือ 1-2 ช่วงแขน หรือใช้เวลาพบปะผู้อื่นให้สั้นที่สุด รวมถึงให้แยกห้องนอน

กรณีจำเป็นต้องพบปะผู้อื่น ให้ใช้หน้ากากอนามัย หน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วให้ทิ้งลงในถุงขยะ 2 ชั้น แล้วมัดปากถุงให้แน่น และทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือน้ำและสบู่ทันที
.
5) ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดหน้า ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ โทรศัพท์ รวมทั้งให้แยกทำความสะอาดจัดให้มีน้ำดื่มแยกเฉพาะ แยกการรับประทานอาหาร ไม่รับประทานอาหารร่วมกับคนในครอบครัว ให้ตักแบ่งอาหารมารับประทานต่างหาก และเก็บล้างภาชนะด้วยน้ำยาล้างจาน ผึ่งให้แห้งและตากแดด
.
6) แยกห้องน้ำ/ห้องส้วม
ควรแยกการใช้ห้องส้วมกับคนในครอบครัว
หากแยกไม่ได้ ควรใช้ห้องส้วมเป็นคนสุดท้าย และให้ทำความสะอาดทันทีหลังใช้ส้วม ทั้งนี้ ให้ปิดฝาทุกครั้งก่อนกดชักโครกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค

กรณีใช้ส้วมร่วมกัน ให้ระมัดระวังจุดเสี่ยงสำคัญที่มีการสัมผัสร่วมกัน เช่น บริเวณโถส้วม อ่างล้างมือ ก๊อกน้ำ ลูกบิดประตู และล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้ง
.
7) แยกขยะของกลุ่มเสี่ยงและผู้อื่น
แยกขยะของกลุ่มเสี่ยงและผู้อื่น โดยควรแยกอีกเป็น 2 ประเภท แล้วใส่ลงถังเพื่อให้มีการนำไปกำจัดต่อไป

- ขยะทั่วไป (เช่น ถุงพลาสติก ภาชนะใส่อาหารแบบใช้ครั้งเดียว ขวด เป็นต้น) ให้เก็บรวบรวมเป็นขยะทั่วไป
- ขยะที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย สารคัดหลั่ง เช่น หน้ากากอนามัย กระดาษทิชชู เป็นต้น ในแต่ละวันให้เก็บรวบรวมและทำลายเชื้อ โดยใส่ถุงขยะ 2 ชั้น และทำลายเชื้อโดยราดด้วยน้ำยาฟอกขาว แล้วมัดปากถุงให้แน่น นำไปทิ้งรวมกับขยะทั่วไป

ภายหลังจัดการขยะ ให้ล้างมือด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทันที
.
8) คนในครอบครัวแจ้งสถานการณ์กับที่ทำงาน/สถานศึกษา

คนในครอบครัวสามารถไปทำงาน เรียนหนังสือ ได้ตามปกติ แต่ทั้งนี้อาจต้องให้ข้อมูลกับสถานที่ทำงาน สถานศึกษา ตามเงื่อนไขที่สถานที่เหล่านั้นกำหนด
.
ที่มา:
กระทรวงสาธารณสุข