หน้าแรก » สาระน่ารู้ » ร่วมกันแยกขยะติดเชื้อ
สาระน่ารู้
อัพเดทล่าสุด 17 เมษายน 2563 , ยอดผู้ชม 671

ร่วมกันแยกขยะติดเชื้อ

ร่วมกันแยก " ขยะติดเชื้อ "
#Saveพนักงานเก็บขย
จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทำให้หน้ากากอนามัยกลายเป็นของจำเป็นที่ต้องใช้ในทุกๆวัน และเมื่อใช้เสร็จแล้วต้องทิ้งลงถังขยะทำให้เพิ่มปริมาณขยะมากขึ้น อีกหนึ่งอาชีพที่ทำงานอยู่ในความเสี่ยงการติดเชื้อ COVID-19 ตลอดเวลาก็ คือ พนักงานเก็บขยะ
เราจึงอยากช่วยพวกเขาด้วยการขอร้องให้ทุกคนแยกขยะติดเชื้อ (หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าที่ใช้แล้ว ทิชชูที่มีสารคัดหลั่ง) ทิ้งให้เหมาะสม เพื่อที่เค้าจะไม่ต้องเสี่ยงชีวิตและเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
.
#โรครว้ายๆวัยทำงาน จึงอยากช่วยพี่ๆ เก็บขยะ ด้วยการขอร้องให้ทุกคนแยกทิ้งอย่างชัดเจน ช่วยกันคนละไม้ คนละมือ แล้วก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน
.
รณรงค์สร้างจิตสำนึก
.
1. คนไม่ป่วยใช้หน้ากากผ้า ลดปริมาณขยะ
หากผู้ที่ไม่มีอาการป่วยหรือไม่ได้ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สามารถใช้หน้ากากผ้าแทนหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ได้ นอกจากจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อหน้ากากอนามัยแล้ว ยังช่วยลดจำนวนขยะหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วและจำนวนขยะติดเชื้อด้วย
.
2. แยกถุงเฉพาะหน้ากากที่ใช้แล้ว
ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทิ้งหน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้า โดยแยกใส่ถุงต่างหากจากถุงขยะประเภทอื่นๆ ปิดปากถุงให้แน่น และควรทำสัญลักษณ์ที่ถุงขยะหน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้า เช่น ผูกเชือก หรือเขียนบอกให้รู้เวลาพนักงานเก็บขนขยะมาจัดเก็บ หรือนำไปทิ้งในถังขยะติดเชื้อ (สีแดง) หรือนำไปทิ้งไว้ในจุดรวบรวมขยะเฉพาะเพื่อรอการเก็บขน
.
3. จัดให้มีถังขยะติดเชื้อในชุมชน
จัดให้มีถังขยะติดเชื้อ (สีแดง) ไว้ในชุมชน ที่สาธารณะหรือจุดรวบรวมขยะ เพื่อเป็นจุดทิ้งขยะติดเชื้อ เช่น หน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้าเป็นการเฉพาะ 
.
มาตรการเก็บขยะ 
.
1. จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ
ได้แก่ ถุงมือยางหนา ผ้ายางกันเปื้อน หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า หน้ากากป้องกันหน้า และเครื่องแต่งกายที่รัดกุม เป็นต้น และกำชับให้พนักงานเก็บขยะสวมใส่ในการปฏิบัติงานทุกครั้ง รวมทั้งจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อสำรองให้เพียงพอสำหรับการปฏิบัติงานทุกวัน 
.
2. มีมาตรการป้องกันก่อน/หลังทำงาน
ให้มีการป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่พนักงาน
เก็บขนขยะ ทั้งก่อนและหลังการปฏิบัติงานทุกครั้ง เช่น การตรวจวัดอุณหภูมิ ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ สบู่ เป็นต้น ทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ เครื่องแต่งกายที่สวมใส่ในขณะที่ปฏิบัติงาน รวมถึงฉีดล้างรถบรรทุกเก็บขนขยะมูลฝอยเป็นประจำทุกวัน
.
3. จัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมแก่พนักงานในการกำจัดขยะ
จัดหามาตรการและอุปกรณ์ที่เหมาะสมให้แก่พนักงานประจำจุดกำจัดขยะ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อระหว่างการปฏิบัติงาน โดยเป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545