หน้าแรก » สาระน่ารู้ » เส้นทางสอบเข้า TCAS คณะนิเทศฯ-วารสารศาสตร์ฯ
สาระน่ารู้
อัพเดทล่าสุด 16 กันยายน 2562 , ยอดผู้ชม 1842

เส้นทางสอบเข้า TCAS คณะนิเทศฯ-วารสารศาสตร์ฯ

คณะนิเทศฯ-วารสารศาสตร์ฯ เรียนเกี่ยวกับอะไร
จริงๆ แล้ว ในกลุ่มคณะนี้จะมีทั้งหมด 3 ชื่อ คือ คณะนิเทศศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, คณะสื่อสารมวลชน จะเรียนใกล้เคียงกันแต่จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย แบบเล็กน้อยจริงๆ ค่ะ นอกจากนี้บางมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้มีคณะนิเทศฯ เป็นของตัวเอง แต่จะมีสาขานิเทศศาสตร์ซ่อนไว้ในคณะอื่นๆ ด้วย ก่อนอื่นเราไปรู้จักชื่อของทั้ง 3 คณะก่อนเลยค่ะ
 

นิเทศศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสาร ให้ความสำคัญกับการสื่อสารจากองค์ประกอบของการสื่อสารต่างๆ ได้แก่ ผู้ส่งสาร สาร สื่อ และผู้รับสาร ซึ่งมหาวิทยาลัยที่ใช้ชื่อนิเทศศาสตร์เป็นทั้งชื่อคณะและสาขา อาทิเช่น คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ม.ศิลปากร เป็นต้น

วารสารศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการนำเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในสังคมในรูปของข่าว และความคิดในรูปของบทความ บทรายงาน บทวิจารณ์ บทสัมภาษณ์ ไปยังสาธารณชน โดยผ่านสื่อมวลชนประเภทต่างๆ มหาวิทยาลัยที่ใช้ชื่อคณะวารสารศาสตร์ มีเพียงที่เดียวคือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

สื่อสารมวลชน คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านสื่อชนิดต่างๆ ไปยังผู้รับสารจำนวนมาก มหาวิทยาลัยที่ใช้คำว่าสื่อสารมวลชน อาทิเช่น คณะการสื่อสารมวลชน ม.เชียงใหม่, คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาสื่อสารมวลชน ม.เกษตรศาสตร์ เป็นต้น

สรุปคือ นิเทศศาสตร์-วารสารศาสตร์-สื่อสารมวลชน เป็นคณะ/สาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสาร เน้นในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้ประชาชน โดยการสื่อสารนั้นจะต้องมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ใช้เครื่องมืออย่างถูกต้องเหมาะกับการการสื่อสารนั้นๆ ซึ่งในกลุ่มคณะนี้ก็จะมีสาขาแยกย่อยอีกค่ะ


สาขาของนิเทศศาสตร์-วารสารศาสตร์-สื่อสารมวลชน
  ทดสอบ Icon สาขาวิชาการโฆษณา
  ทดสอบ Icon สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์
  ทดสอบ Icon สาขาวิชาวิทยุและโทรทัศน์ / วิทยุกระจายเสียง / วิทยุโทรทัศน์
  ทดสอบ Icon สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน
  ทดสอบ Icon สาขาวิชาวารสารศาสตร์และหนังสือพิมพ์
  ทดสอบ Icon สาขาวิชาภาพยนตร์ / ภาพยนตร์และภาพนิ่ง / ภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล
  ทดสอบ Icon สาขาวิชาการแสดงและศิลปะการแสดง
  ทดสอบ Icon สาขาวิชาสื่อสารตราสินค้า
  ทดสอบ Icon สาขาวิชาสื่อสารการตลาด
  ทดสอบ Icon สาขาวิชาสื่อสารองค์กร
  ทดสอบ Icon สาขาวิชาวาทวิทยา / สื่อสารการแสดง
  ทดสอบ Icon สาขาวิชาสื่อใหม่
  ทดสอบ Icon สาขาวิชาลูกค้าสัมพันธ์
  ทดสอบ Icon สาขาวิชาการจัดการการสื่อสาร

แต่ละมหาวิทยาลัยเปิดรับรอบไหนบ้าง

ตัวอย่างที่น่าสนใจในแต่ละรอบ (พร้อมเกณฑ์คะแนน)
รอบที่ 1 Portfolio
1.1 รอบ Portfolio สาขาวิชานิเทศศาสตร์(นานาชาติ) ม.ขอนแก่น
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : ภาษาอังกฤษ (เช่น IELTS, TOEFL) หรือ GPAX > 3.50 + Portfolio

1.2 โครงการเด็กดีมีที่เรียน สาขานิเทศศาสตร์ ม.มหาสารคาม
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : พิจารณาคุณสมบัติจาก GPAX + Portfolio

1.3 รอบ Portfolio สาขานิเทศศาสตร์การเกษตร ส.ลาดกระบัง
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : พิจารณาคุณสมบัติจาก GPAX > 2.50 + Portfolio


รอบที่ 2 โควตา
2.1 โควตา 28 จังหวัด สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ม.ศิลปากร
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : เฉพาะนร.ในพื้นที่ 28 จว. + GAT PAT / วิชาสามัญ + สัมภาษณ์

2.2 โควตา 12 จังหวัดภาคตะวันออก หลักสูตรนิเทศศาสตร์ ม.บูรพา
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : เฉพาะนร.ในพื้นที่ 12 จว. + GAT + สัมภาษณ์

2.3 โครงการเด็กดีมีที่เรียน คณะการสื่อสารมวลชน ม.เชียงใหม่
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : พิจารณาคุณสมบัติจาก GPAX + Portfolio + สัมภาษณ์


รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน
3.1 TCAS รอบ 3 นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GPAX > 2.75 + GAT + PAT 1 / PAT 7

3.2 TCAS รอบ 3 คณะวารสารศาสตร์ฯ ม.ธรรมศาสตร์
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GPAX > 3.25 + GAT + PAT 1 / PAT 7 / วิชาสามัญ

3.3 TCAS รอบ 3 สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
ทดสอบ Icon กณฑ์คัดเลือก : GPAX > 2.75 + GAT + PAT 1 / 7 + วิชาสามัญ (ไทย, สังคมฯ, อังกฤษ)


รอบที่ 4 แอดมิชชั่น
ใช้เกณฑ์เดียวกันทุกมหาวิทยาลัย มี 3 รูปแบบ คือ
  ทดสอบ Icon GPAX 20% // O-NET 30% // GAT 50%
  ทดสอบ Icon GPAX 20% // O-NET 30% // GAT 30% // PAT 1 20%
  ทดสอบ Icon GPAX 20% // O-NET 30% // GAT 30% // PAT 7 20%

รอบที่ 5 รับตรงอิสระ
5.1 TCAS รอบ 5 หลักสูตรนิเทศศาสตร์ ม.บูรพา
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GAT + สัมภาษณ์

5.2 TCAS รอบ 5 สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ม.พะเยา
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GPAX > 2.00 + GAT + สัมภาษณ์

5.3 TCAS รอบ 5 วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มศว
ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GPAX > 2.00 + ภาษาอังกฤษ (เช่น IELTS, TOEFL) + Portfolio

 

Q&A คำถามยอดฮิต
Q : ถ้าไม่เก่งการแสดง สามารถเรียนนิเทศศาสตร์ได้หรือไม่?
       ได้แน่นอนค่ะ งานสายนิเทศมีหลายสาขามาก มีทั้งงานเบื้องหน้าและเบื้องหลัง เช่น ถ้าไม่เก่งการแสดง สามารถเป็นนักเขียนบท หรือดูแลการถ่ายทำได้ค่ะ งานสายนิเทศค่อนข้างกว้าง สิ่งสำคัญสำหรับงานสายนี้คือความคิดสร้างสรรค์และการปรับตัว ไม่เก่งการแสดงก็เก่งด้านอื่นได้ค่ะ

Q : เป็นเด็กสายศิลป์ จะสอบสู้เด็กสายวิทย์ได้หรือไม่?

       การสอบเข้าคณะสายนิเทศ มีให้เลือกทั้งหมด 3 แบบคือใช้ GAT ล้วน , GAT + PAT 1 และ GAT + PAT 7 รูปแบบที่สายวิทยืได้เปรียบก็มีแค่แบบ 2 ที่ใช้ PAT 1 แต่จริงๆ ก็ไม่ได้มีการได้เปรียบเสียเปรียบกันหรอกค่ะ ข้อสอบก็เป็นข้อสอบกลางที่แอบจะช่วยส่งเด็กสายศิลป์มากกว่าด้วยซ้ำ ตอนสอบก็ทิ้งสายการเรียนแล้วลุยให้เต็มที่ ดีกว่ามากังวลเรื่องสายการเรียนนะ

Q : ไม่มีเกียรติบัตรไปใส่ Portfolio จะสมัครรอบแรกได้หรือไม่?

       จริงๆ เกียรติบัตรที่ว่าไม่จำเป็นต้องเป็นการแข่งขันหรือประกวดเท่านั้นนะคะ สามารถเป็นเกียรติบัตรที่เข้าร่วมกิจกรรม เข้าค่าย เข้างาน เป็นอาสาสมัคร อะไรแบบนี้ก็ได้ แต่ถ้าไม่มีเกียรติบัตรจริงๆ ก็ให้ถ่ายรูปเยอะๆ ใส่รูปแล้วอธิบายเลยค่ะว่าเราทำอะไรไปในงานนี้บ้าง เวลาที่กรรมการถามเราก็จะคุยต่อได้ว่านี่เราทำงานนี้นะ มีกระบวนการอย่างไร ก็เป็นแต้มคะแนนได้เหมือนกันค่ะ

Q : ในรอบแอดมิชชั่น สามารถเลือกทั้งแบบ GAT ล้วน และ GAT + PAT ภาษาได้หรือไม่?

       ถ้ารูปแบบการรับไม่ใช่แบบปีกกา หรือแบบที่รับรวมกันทั้งหมด ก็สามารถเลือกได้ทั้งแบบ GAT ล้วน และแบบ GAT + PAT 7 ค่ะ แต่ถ้ารับแบบปีกกาก็อย่าเลือกเลย ให้เลือกรูปแบบที่เราคะแนนสูงสุดดีกว่า ไม่งั้นจะเสียอันดับฟรี

สายนิเทศเป็นสายที่เน้นการนำความรู้ไปปรับใช้ ไม่ใช่สายวิชาการตรงๆ เด็กนิเทศจึงเป็นกลุ่มที่ต้องมีความคิดสร้างสรรค์มากๆ ปรับตัวเก่ง สามารถทำงานได้ในทุกรูปแบบองค์กร เป็นตัวเชื่อมให้งานสามารถดำเนินการไปได้ ถ้าใครชอบงานสายนี้ก็สามารถเลือกเรียนสาขาที่ชอบได้ เชื่อเถอะ ถ้าเรียนในสิ่งที่ชอบ ได้ทำงานที่ใช่ อยู่ที่ไหนก็มีความสุข :)