หน้าแรก » สาระน่ารู้ » เส้นทางสอบเข้า TCAS คณะวิทยาศาสตร์
สาระน่ารู้
อัพเดทล่าสุด 16 กันยายน 2562 , ยอดผู้ชม 668

เส้นทางสอบเข้า TCAS คณะวิทยาศาสตร์


คณะวิทยาศาสตร์ เรียนอะไร
          “วิทยา” หมายถึง ความรู้ “วิทยาศาสตร์” เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้ในเรื่องธรรมชาติ เริ่มตั้งแต่ความรู้ขั้นพื้นฐานที่ได้จากการตั้งคำถาม สังเกตธรรมชาติรอบๆ ตัว แล้วค่อยเริ่มกระบวนการค้นคว้าความรู้อย่างมีหลักเกณฑ์ มีระบบเป็นขั้นเป็นตอน หรือที่เรียกกันว่า “กระบวนการทางวิทยาศาสตร์” วิทยาศาสตร์สอนให้ผู้เรียนมีหลักคิดเป็นเหตุเป็นผลผ่านความรู้พื้นฐานทั้ง 4 คือคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา 

          ทุกมหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ มีพันธกิจหลักที่มุ่งเน้นไปทางเดียวกันคือ มุ่งมั่นผลิตนักวิทยาศาสตร์ที่มีศักยภาพ ความเชี่ยวชาญ และองค์ความรู้พร้อมสำหรับการสร้างผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ให้ตอบสนองความต้องการและเกิดประโยชน์กับสังคมโลกได้

          ปัจจุบันคณะวิทยาศาสตร์แต่ละแห่งแตกสาขาออกไปเยอะมาก ขึ้นอยู่กับว่าสาขานั้นเน้นศึกษาเรื่องใดเป็นพิเศษ เช่น คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี เน้นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโครงสร้าง สมบัติทางกายภาพ สมบัติทางเคมีของสาร การเกิดปฏิกิริยาทางเคมี ฯลฯ เพื่อให้สามารถนำความรู้มาประยุกต์และพัฒนากับงานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะงานอุตสาหกรรมทางเคมี งานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางเคมี งานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ผู้ที่สนใจจะเรียนจึงควรศึกษาข้อมูลหลักสูตรของแต่ละสาขาอย่างถี่ถ้วน เพื่อจะได้ตรงกับความต้องการและสายงานที่อยากทำเป็นพิเศษในอนาคต

สาขาที่เปิดสอนในประเทศไทย


 
แต่ละมหาวิทยาลัยเปิดรับรอบไหนบ้าง


 
ยกตัวอย่างโครงการที่น่าสนใจแต่ละรอบ

ทดสอบ Icon  รอบที่ 1 Portfolio
1.1 โครงการโอลิมปิกวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
 ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GPAX + GPA (คณิต - วิทย์) + แฟ้มสะสมผลงาน (การเข้าร่วมกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และผลงานทางวิทยาศาสตร์) 
1.2 โครงการ พสวท. คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
 ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GPAX + ผลคะแนนสอบวัดสมรรถนะทางวิชาการและการคิดวิเคราะห์ทางวิทย์-คณิต (สสวท.) + ประวัติผลงานหรือการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี + สอบสัมภาษณ์  
1.3 โครงการเพชรสนามจันทร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.ศิลปากร
 ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GPAX + สอบสัมภาษณ์ + แฟ้มสะสมผลงาน (ตามเกณฑ์คุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง เช่น ได้รับวุฒิบัตรจากค่ายโอลิมปิก สอวน. , ได้รับรางวัลที่ 1-3 จากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ , เป็นนักเรียนในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ สสวท. / สพฐ. / วมว.)      

ทดสอบ Icon  รอบที่ 2 โควตา
2.1 โครงการส่งเสริมความถนัดทางวิชาชีพ 6 สาขาวิชา (คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ พฤกษศาสตร์ และฟิสิกส์) ม.มหิดล
 ทดสอบ Icon คุณสมบัติ : ผู้สมัครสำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 จากโรงเรียนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดวิทยาเขต ม.มหิดล
 ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GPAX + วิชาสามัญ (เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา คณิต1 อังกฤษ ไทย สังคม)
2.2 โควตาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะวิทยาศาสตร์ ม.ขอนแก่น
 ทดสอบ Icon คุณสมบัติ : ผู้สมัครสำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า ปวช.3 จากโรงเรียนต่างๆ 20 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
 ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : วิชาสามัญ (อังกฤษ คณิต1 ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ไทย สังคม) 
 * หมายเหตุ : บางสาขาไม่ใช้คะแนนวิชาสามัญ ไทย - สังคม เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ ภูมิสารสนเทศศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์
2.3 โควตาบัณฑิตคืนถิ่นฯ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
 ทดสอบ Icon คุณสมบัติ : ผู้สมัครสำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 จากโรงเรียนในจังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง อุทัยธานี และชัยนาท
 ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GPAX + สอบสัมภาษณ์ 

ทดสอบ Icon  รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน
3.1 TCAS รอบ 3 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
 ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GPAX + GAT + วิชาสามัญ (คณิต1 เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์) 
3.2 TCAS รอบ 3 คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล
 ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GPAX + วิชาสามัญ (คณิต1 ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา อังกฤษ ไทย สังคม)
3.3 TCAS รอบ 3 คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
 ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GPAX + GAT + PAT 1 + PAT 2 + O-NET + วิชาสามัญ 
 * หมายเหตุ : เฉพาะบางสาขาที่ใช้วิชาสามัญ เช่น พันธุศาสตร์ ใช้ อังกฤษ คณิต 1 ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา , ชีวเคมี ใช้ อังกฤษ ไทย สังคม คณิต 1 ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา   

ทดสอบ Icon  รอบที่ 4 แอดมิชชั่น
 ทดสอบ Icon ใช้เกณฑ์เดียวกันทุกมหาวิทยาลัย คือ GPAX 20% + O-NET 30% + GAT 10% + PAT 1 10% + PAT 2 30% 

ทดสอบ Icon  รอบที่ 5 รับตรงอิสระ
5.1 TCAS รอบ 5 คณะวิทยาศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
 ทดสอบ Icon 
เกณฑ์คัดเลือก : GPAX + GAT + PAT 1 + PAT 2 + วิชาสามัญ (ตามแต่ละสาขากำหนด) 
5.2 โครงการ “Sci Seed สานฝัน คนพันธุ์วิทย์” คณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ 
 ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : GPAX + สอบสัมภาษณ์ (พิจารณาจากความรู้เบื้องต้น การเข้าร่วมกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ควรนำ Portfolio มาด้วย)
5.3 TCAS รอบ 5 สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ม.แม่ฟ้าหลวง 
 ทดสอบ Icon เกณฑ์คัดเลือก : สอบสัมภาษณ์ + O-NET (อังกฤษ คณิต วิทย์) 

Q&A คำถามยอดฮิต

Q: “คณะวิทยาศาสตร์” เข้าง่าย แต่จบยาก จริงไหม?
          A: 
จริงค่ะ คำยืนยันจากปากรุ่นพี่คณะวิทยาศาสตร์เอง ต้องเข้าใจธรรมชาติของคณะนี้ก่อน คณะนี้ไม่ใช่คณะที่นึกว่ามาเรียนชิลล์ๆ แล้วจะไหว ต้องมีใจรักด้วย บางคนคิดว่าเนื้อหาก็เหมือนๆ ม.ปลาย ทั่วไปแหละ ประยุกต์นิดหน่อย คิดผิดแล้ว! นี่มันระดับปรมาจารย์แอดวานซ์มาก (บางคนเรียนไปก็ตัดพ้อไปว่าเหมือนคนที่เคยชอบกลายเป็นคนแปลกหน้า)

          ด้วยความที่การเรียนวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ตัวเนื้อหาค่อนข้างเฉพาะทาง ลึก ยาก และหนักมาก บางสาขาไม่เน้นประยุกต์แต่เน้นสร้างความรู้ใหม่ อาศัยแค่ท่องจำไปทำข้อสอบนั้นไม่เพียงพอ ต้องจับองค์ความรู้หลายศาสตร์มารวมและคิดวิเคราะห์ให้เป็นด้วย การเรียนจึงเข้มข้นสุดๆ ถึงขั้นสอบเสร็จนอนตายไปเลยล่ะ ด้วยเหตุนี้จึงมีปรากฏการณ์ที่เด็กวิทยาฯ นั่งจับกลุ่มติวกันเหนียวแน่นมาก เพราะกลัวเพื่อนร่วมรุ่นน้อยลงทุกปีๆ จากการที่ทนรับเนื้อหาไม่ไหวจนต้องซิ่วออกไปนั่นเอง 

Q: จบ ป.ตรี แล้วเป็น “นักวิทยาศาสตร์” ได้อย่างเดียวเหรอ? 
          A:
 ถามก่อน ไปฟังใครเขาพูดมา? คณะวิทยาศาสตร์ ถือได้ว่าเป็นสาขาที่นำความรู้ไปต่อยอดกับสายงานได้ค่อนข้างกว้าง หลากหลาย (บางงานกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล) งานที่ทำได้ก็มีตั้งแต่เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิเคราะห์และตรวจสอบผลิตภัณฑ์ - วัสดุ - สิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการในหน่วยงานรัฐและเอกชน พนักงานขายอุปกรณ์ทางการแพทย์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เจ้าของกิจการ ศึกษาต่อปริญญาโทเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษในสาขานั้นๆ

Q: ผลงานทางวิทยาศาสตร์น้อยมาก ยื่นรอบ 1 จะติดไหม? 
          A: 
ยื่นไปก่อน ผลงานมาก - น้อย ชิ้นเล็ก ชิ้นใหญ่ คณะกรรมการเป็นคนพิจารณาความเหมาะสมเอง ถ้าเป็นตัวโครงงานวิทยาศาสตร์ที่สื่อให้เห็นถึงความตั้งใจและความเป็นนักวิทย์ของเราจริงๆ ก็ไม่น่าหลุดมือ บางมหาวิทยาลัยถ้าน้องเคยเข้าร่วมการแข่งขันวิชาการทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นนักเรียนในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ก็เท่ากับผ่านคุณสมบัติแล้ว อ้อ! บางที่อาจกำหนดใช้หัวข้อเรียงความเข้ามาเป็น 1 ในผลงาน เช่น คณะวิทยาศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ให้เขียนเรียงความ “แสดงความตั้งใจที่มาเรียน” จำนวน 1 หน้า A4 เขียนประทับใจกรรมการก็ได้เข้าไปเรียนเลย 

          ทั้งหมดนี้ก็คือเส้นทางสอบเข้า “คณะวิทยาศาสตร์” นะคะ ยิ่งสัมผัสก็ยิ่งนับถือในความเป็นนักสู้และเลือดนักวิทย์ที่มีในตัวจริงๆ ใครอยากตามรอยรุ่นพี่ก็อย่ารอช้าค่ะ คณะนี้เป็นอีกหนึ่งคณะที่มีสาขาเปิดให้เรียนเยอะมาก แต่ละสาขาน่าสนใจทั้งนั้น น้องๆ เล็งสาขาอะไรไว้ รีบศึกษาข้อมูลและเตรียมตัวสอบเลย! เพราะไม่ใช่ว่าทุกมหาวิทยาลัยจะเปิดสาขาที่เราอยากเรียนนะ บางสาขามีเปิดสอนพิเศษเฉพาะบางแห่งเท่านั้น

อ้างอิง https://www.dek-d.com