หน้าแรก » สาระน่ารู้ » คนทำงานกลางแจ้ง รับมืออันตรายจาก ‘พายุฤดูร้อน’
สาระน่ารู้
อัพเดทล่าสุด 21 พฤษภาคม 2563 , ยอดผู้ชม 719

คนทำงานกลางแจ้ง รับมืออันตรายจาก ‘พายุฤดูร้อน’


คนทำงานกลางแจ้ง
รับมืออันตรายจาก ‘พายุฤดูร้อน’
.
ในช่วงเดือนเมษายน จะเกิดพายุฤดูร้อนได้บ่อยครั้ง
จึงทำให้คนทำงานกลางแจ้ง (เกษตรกร รับจ้าง ผู้ใช้แรงงาน) ได้รับอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต จากเหตุการณ์ต่างๆ เช่น ฟ้าผ่า หรือบ้านเรือนพังเสียหายจากลมพัดรุนแรง
.
เนื่องจาก #ฟ้าผ่า มักจะเกิดกลางทุ่งนา ต้นไม่ใหญ่ หรือกระท่อมกลางนา
เราจึงขอนำคำแนะนำ ว่าควรจะหลีกเลี่ยงอันตรายจากฟ้าผ่าอย่างไร ควรทำอะไรและไม่ควรทำอะไรบ้าง ดังนี้ค่ะ
.
สิ่งที่ ‘ควร’ ทำ:
.
1. ควรฟังประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา หากประกาศว่าจะเกิดพายุฤดูร้อน ควรงดออกไปทำงานกลางแจ้ง
เพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานกลางทุ่ง/นา/ไร่/สวน ในระหว่างที่มีฝนฟ้าคะนอง
.
2. หากเห็นว่าฝนกำลังจะตกหรือมีลมแรง ควรออกจากกลางทุ่งนา หรือที่โล่งแจ้ง
กลับเข้าที่พักอาศัยทันที ไม่ควรทำงานจนฝนเริ่มตก
.
3. ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่สัมผัสน้ำ 
เช่น การลงเล่นน้ำ ทั้งในทะเล แหล่งน้ำ บ่อ หนอง คลอง บึง ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าได้
.
สิ่งที่ ‘ไม่ควร’ ทำ:
.
1. ขณะที่ฝนตกฟ้าคะนอง ไม่ควรเข้าไปยืนหลบใต้ต้นไม้ใหญ่ กระท่อมกลางนา
ควรหาที่หลบในบ้านหรืออาคารที่มีกำแพงล้อมรอบ
และควรยืนให้ห่างจากผนัง หน้าต่าง หรือประตูบ้าน
.
ในกรณีที่หาที่หลบไม่ได้ ให้ทำให้ตัวต่ำลงด้วยการนั่งยอง ๆ ซุกศีรษะไว้ ระหว่างเข่า ให้แขนทั้งสองข้างแนบเข่า เอามือปิดหูไว้ เท้าทั้งสองข้างชิดกันหรือเขย่งอยู่บนปลายเท้า เพื่อให้มีผิวสัมผัสกับพื้นดินให้น้อยที่สุด
.
และให้ส้นเท้าทั้งสองข้างแตะกัน ‘ไม่ควรหมอบตัวราบไปกับพื้น’ เพราะกระแสไฟฟ้าอาจจะวิ่งมาตามพื้นดินได้
.
2. ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างอยู่นอกอาคาร ขณะที่มีพายุ และฝนตก
.
3. ไม่ควรสัมผัสกับโลหะทุกชนิดที่อาจเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า
เช่น การสวมเครื่องประดับที่ทำด้วยโลหะ การสวมเสื้อผ้าที่มีกระดุม เข็มขัดที่ทำด้วยโลหะ งดสัมผัสหรือใช้อุปกรณ์การทำงานที่เป็นโลหะต่าง ๆ (เครื่องมือซ่อมแซม/เครื่องมือการเกษตร) ฯลฯ
.
ถ้าพบผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกฟ้าผ่า ให้โทรแจ้งเหตุที่หมายเลขฉุกเฉิน 1669
.
ที่มา:
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค