หน้าแรก » สาระน่ารู้ » กินผักตามฤดูกาลลดเลี่ยงสารเคมี
สาระน่ารู้
อัพเดทล่าสุด 20 กุมภาพันธ์ 2563 , ยอดผู้ชม 1014

กินผักตามฤดูกาลลดเลี่ยงสารเคมี

การเลือกรับประทานผักและผลไม้ตามฤดูกาล จะช่วยลดความเสี่ยงจากยาฆ่าแมลงปนเปื้อน ได้ผักที่มีสารอาหารครบสมบูรณ์ สดใหม่ หาซื้อง่าย และราคาถูกอีกด้วย ลองมาดูกันว่าในแต่ละฤดูกาล เราจะเจอผักอะไรมากเป็นพิเศษ

ฤดูร้อน (มีนาคม - พฤษภาคม)

1. ฟักทอง 2. มะเขือเปราะ 3. เห็ดฟาง 4. แตงกวา 5. ใบแมงลัก 6. ใบเหลียง 7. หอมหัวใหญ่ 8. มะระ 9. แตงโมอ่อน 10. บีทรูท 11. กระเจี๊ยบเขียว 12. ผักหวานป่า 13. คะน้า 14. กะเพรา 15. ถั่วพู 16. มะเขือเทศ 17. มะนาว 18. มะเขือพวง 19. ถั่วฝักยาว 

เมนูตัวอย่าง : ฟักทองผัดไข่, แกงส้มแตงโมอ่อน

ฤดูฝน (มิถุนายน - ตุลาคม)

1. มะเขือพวง 2. กระเจี๊ยบเขียว 3. ขิงข่า 4. ผักบุ้งจีน 5. ผักแว่น 6. ผักโขม 7. ดอกโสน 8. ฝักเขียว 9. ผักหวานบ้าน 10. ตำลึง 11. ใบบัวบก 12. ชะอม 13. น้ำเต้า 14. กะเพรา 15. ผักกูด 16. หัวปลี 17. สะระแหน่ 18. ถั่วฝักยาว 19. หน่อไม้ 20. มะเขือส้ม 21. ผักบุ้งนา 22. ดอกขจร 23. มะนาว 24. สายบัว 25. กุยช่ายดอก 26. กุยช่ายใบ 27. ผักปลัง 

เมนูตัวอย่าง : ผักปลังผัดไข่, แกงส้มดอกขจร

ฤดูหนาว (พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์)

1. ตะลิงปลิง 2. ผักสลัด 3. ผักกาดหอม 4. ดอกแค 5. สะเดา 6. กวางตุ้ง 7. ปวยเล้ง 8. มะรุม 9. ผักปลัง 10. ผักชี 11. คะน้า 12. กะเพรา 13. ดอกกะหล่ำ 14. กะหล่ำปลี 15. ถั่วลันเตา 16. แครอท 17. พริกหวาน 18. ลูกเหรียง 19. ผักกาดขาว

ที่มา : เอกสารแผ่นพับ สสส. เรื่องกินผักตามฤดูกา