หน้าแรก » สาระน่ารู้ » เส้นทางสอบเข้า TCAS คณะแพทยฯ-ทันตแพทยฯ
สาระน่ารู้
อัพเดทล่าสุด 16 กันยายน 2562 , ยอดผู้ชม 1007

เส้นทางสอบเข้า TCAS คณะแพทยฯ-ทันตแพทยฯ


แม้ว่าเกณฑ์คัดเลือกและการรับของแต่ละมหาวิทยาลัยจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง แต่ดันเป็นคณะที่มีความซับซ้อนในการรับแต่ละรอบ พูดง่ายๆ คือ คณะอื่นๆ ส่วนใหญ่เปิดรับทั้ง 5 รอบเลย แต่ 2 คณะนี้ เปิดรับแค่บางรอบเท่านั้น เรียกว่าต้องตามเช็กกันทีละมหาวิทยาลัยเลยทีเดียว ไม่อย่างนั้นอาจพลาดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งวันนี้พี่มิ้นท์ก็ได้รวบรวมการรับในแต่ละรอบมาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว จะเป็นยังไง ตามไปดูกันเลยค่ะ

คณะแพทยศาสตร์ / ทันตแพทยศาสตร์ เรียนอะไร
         คณะแพทยศาสตร์ คือ คณะที่เรียนเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพของคน ดังนั้นผู้เรียนจะต้องมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพอย่างรอบด้าน เนื่องจากร่างกายของมนุษย์มีความซับซ้อน ความรู้และความแม่นยำจึงจำเป็นต่อการรักษามนุษย์ การเรียนคณะแพทย์ปีแรก จะเรียนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไป จากนั้นปี 2-3 จะเป็นจะได้เรียนเกี่ยวกับวิชาพื้นฐานทางการแพทย์ และได้เข้าสู่ชั้นคลินิกในช่วงชั้นปีสูง คือ ได้ออกไปเรียนรู้และดูแลคนไข้จริงๆ โดยมีอาจารย์หมอคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด เรียกว่าเป็นช่วงที่ได้ใกล้ชิดกับความเป็นแพทย์มากที่สุดแล้ว

         คณะทันตแพทยศาสตร์ คือ คณะที่เรียนเกี่ยวกับการรักษาฟันโดยเฉพาะ ซึ่งต่างจาก "แพทย์" ที่ดูแลรักษาชีวิตคน แต่ทันตแพทย์จะโฟกัสเฉพาะการรักษาช่องปากและฟันเท่านั้น แม้ว่าช่องปากจะเป็นพื้นที่เล็กๆ แต่ก็มีความสำคัญมากเพราะเป็นอวัยวะที่ทำให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้ ปัญหาสุขภาพปากและฟันจึงต้องรักษาโดยหมอฟันเท่านั้น การเรียนจะคล้ายๆ กับแพทย์ คือ เรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐานทั่วไปในปี 1 ส่วนปี 2-3 ได้เรียนพื้นฐานงานด้านทันตกรรม เช่น วัสดุรักษาฟัน ทันตกายวิภาคศาสตร์ เป็นต้น จากนั้นปี 4-6 จะได้ลงคลินิกรักษาฟันคนไข้จริงๆ แบบไล่สเต็ปความยากของการรักษา จากง่ายไปยาก และในปี 6 ก็จะมีวิชาที่ต้องลงไปชุมชนด้วย

สาขาที่เปิดสอนในประเทศไทย
         ในระดับปริญญาตรี ทั้ง 2 คณะนี้ ไม่มีสาขาย่อย ทุกคนจะได้เรียนเหมือนกันหมด โดยเแบ่งเป็นระดับพรีคลินิก คือ เรียนวิชาพื้นฐาน และระดับคลินิก คือ การลงคลินิกเพื่อทำการรักษากับคนไข้จริงภายใต้การดูแลของอาจารย์ เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานในการดูแลรักษาคนไข้ แต่หลังจากจบปริญญาตรี สามารถเรียนต่อเฉพาะทางที่สนใจได้ เช่น
         คณะแพทยศาสตร์ มีสาขาเฉพาะทางเช่น กุมารเวชศาสตร์ รังสีวิทยา จักษุวิทยา วิสัญญีวิทยา ออร์โธปิดิกส์ อายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ ฯลฯ
         คณะทันตแพทยศาสตร์ มีสาขาเฉพาะทาง เช่น ศัลยศาสตร์ช่องปาก ปริทันตวิทยา ทันตกรรมจัดฟัน ทันตกรรมประดิษฐ์ ฯลฯ
 

แต่ละมหาวิทยาลัย เปิดรับรอบไหนบ้าง
 

*อ้างอิงข้อมูลจาก TCAS 62*


*อ้างอิงข้อมูลจาก TCAS 62*

ยกตัวอย่างโครงการที่น่าสนใจแต่ละรอบ
         ถ้าพูดถึงกลุ่มคณะแพทยศาสตร์-ทันตแพทยศาสตร์ โครงการที่น่าสนใจและเป็นที่พูดถึงมาแต่ไหนแต่ไร ก็คือ กสพท นั่นเอง เพราะรับเยอะที่สุดและเข้าร่วมเกือบทุกมหาวิทยาลัย แต่ช่องทางการรับเข้า 2 คณะนี้ ไม่ได้มีเฉพาะ กสพท เพียงอย่างเดียว (เผื่อใครยังไม่รู้) ดังนั้น ในส่วนนี้จะมาแนะนำโครงการอื่นๆ เผื่อมีคุณสมบัติตรงตามรอบใดรอบหนึ่งต่อไปนี้ ก็ลองไปสมัครกันได้
 
ทดสอบ Icon รอบที่ 1 Portfolio
1.1 โครงการผู้มีความสามารถพิเศษทางวิชาการและภาษาอังกฤษ (MDX) คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น
เกณฑ์คัดเลือก : มีคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษ เช่น TOEFL/IELTS/KEPT + คะแนนสอบ BMAT
1.2 โครงการรับตรงคณะแพทยศาสตร์ มศว ร่วมกับ ม.นอตติงแฮม
เกณฑ์คัดเลือก :
 ผ่านเกณฑ์คะแนนสอบภาษาอังกฤษ + ทดสอบทัศนคติทางการแพทย์ + สัมภาษณ์
1.3 โครงการรับนักเรียนที่มีความเป็นเลิศด้านภาษาอังกฤษ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
เกณฑ์คัดเลือก :
 ผ่านเกณฑ์สอบภาษาอังกฤษ + Portfolio + สัมภาษณ์

ทดสอบ Icon รอบที่ 2 โควตา
2.1 โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ม.ธรรมศาสตร์
เกณฑ์คัดเลือก :
 คะแนน กสพท + สอบสัมภาษณ์/ทดสอบทางจิตวิทยา
2.2 โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ม.นเรศวร
เกณฑ์คัดเลือก :
  GPAX + คะแนน กสพท + GAT ความถนัดทั่วไป + PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ + PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
2.3 โควตาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.เทคโนโลยีสุรนารี
เกณฑ์คัดเลือก :
 คะแนนวิชาสามัญ + สอบสัมภาษณ์/ตรวขสุขภาพจิต

ทดสอบ Icon รอบที่ 3 รับตรงทั่วไป
3.1 รับตรง กสพท (ทุกมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม กสพท)
เกณฑ์คัดเลือก :
 คะแนนวิชาสามัญ + คะแนนวิชาเฉพาะแพทย์ + O-NET (O-NET เป็นแค่เกณฑ์ขั้นต่ำ แต่ไม่ใช้คำนวณ)
3.2 รับตรงร่วม ทันตแพทยศาสตร์ ม.แม่ฟ้าหลวง
เกณฑ์คัดเลือก :
 คะแนน กสพท + สอบสัมภาษณ์

ทดสอบ Icon รอบ 4 แอดมิชชั่น
4.1 รับตรงรอบแอดมิชชั่น แพทยศาสตร์ ม.บูรพา
เกณฑ์คัดเลือก :
 ใช้เกณฑ์คัดเลือกเดียวกับ กสพท
4.2 รับตรงรอบแอดมิชชั่น แพทยศาสตร์ ม.นเรศวร
เกณฑ์คัดเลือก :
 ใช้เกณฑ์คัดเลือกเดียวกับ กสพท
4.3 คณะทันตแพทยศาสตร์ ใช้เกณฑ์เดียวกันทุกมหาวิทยาลัย คือ GPAX 20% + O-NET 30% + GAT 20% + PAT1 10% + PAT2 20%

ทดสอบ Icon รอบ 5 รับตรงอิสระ
5.1 รับตรงรอบ 5 คณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
เกณฑ์คัดเลือก :
 พิจารณาคุณสมบัติ/คะแนนสอบต่างๆ + สอบสัมภาษณ์แบบ MMI
5.2 รับตรงรอบ 5 คณะแพทยศาสตร์ ม.นราธิวาสราชนครินทร์
เกณฑ์คัดเลือก :
 คะแนน กสพท + สัมภาษณ์
5.3 รับตรงอิสระ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น
เกณฑ์คัดเลือก :
 คะแนนสอบ 9 วิชาสามัญ + สอบสัมภาษณ์

Q&A คำถามยอดฮิต
1. เรียนสายศิลป์ สามารถสมัครแพทย์-ทันตแพทยศาสตร์ ได้ไหม
ตอบ ในรอบ กสพท น้องๆ สายศิลป์สามารถสมัครสอบคณะแพทย์ได้ค่ะ (อีกคณะที่สมัครได้คือสัตวแพทย์) แต่ทันตแพทยศาสตร์นั้นกำหนดว่าจะต้องเรียนสายวิทย์เท่านั้น  ส่วนใน TCAS รอบอื่นๆ จะต้องเป็นสายวิทย์-คณิตทั้งหมด แม้แต่คณะแพทย์ สายศิลป์ก็ไม่สามารถสมัครได้ค่ะ ดังนั้น พี่มิ้นท์จะแนะนำเสมอว่า ถ้าสายศิลป์อยากเข้าแพทย์ ต้องสมัครใน กสพท รอบ 3 เท่านั้น

2. รับตรงอื่นๆ ที่ไม่ใช่ กสพท หากใช้คะแนน กสพท แล้ว ยังยึดเกณฑ์เดียวกันหรือไม่

ตอบ ไม่จำเป็นเสมอไป ถึงแม้จะใช้คะแนนเหมือน กสพท คือ วิชาสามัญ+คะแนนวิชาเฉพาะแพทย์ แต่บางครั้งอาจจะมีการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำต่างกัน เช่น กสพท กำหนดคะแนนวิชาสามัญขั้นต่ำ กลุ่มวิชาละ 30% แต่รับตรงทันตแพทยศาสตร์ ม.แม่ฟ้าหลวง รอบ 5 ซึ่งใช้คะแนนเดียวกับ กสพท กำหนดขั้นต่ำเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษที่ต้องได้ไม่น้อยกว่า 30% ส่วนวิชาอื่นๆ ไม่กำหนด

         ดังนั้น ถ้าอยากสมัครจริงๆ อย่าลืมเช็กเกณฑ์ขั้นต่ำให้ละเอียด เพราะบางคนเข้าใจว่า ไม่ผ่าน กสพท มา พอเจอรับตรงที่ใช้คะแนนเดิมก็เข้าใจว่าจะต้องไม่ผ่านเหมือนเดิม เป็นการปิดโอกาสตัวเองไปดื้อๆ เลย

3. ถ้าปีนี้ไม่ผ่านเกณฑ์ 60% O-NET ของ กสพท ปีหน้าจะยังสมัคร กสพท ได้หรือไม่

ตอบ ได้ เกณฑ์ O-NET ขั้นต่ำ จะใช้ดูเฉพาะปีการศึกษานั้น เด็กซิ่วจะไม่พิจารณาคะแนน O-NET แต่จะดูจากผลการเรียนหรือแล้วแต่ กสพท จะพิจารณาตามความเหมาะสม ดังนั้น หากเคยตกเกณฑ์ O-NET 60% มา ก็ไปสมัคร กสพท ปีอื่นได้ ไม่มีปัญหา และคะแนน O-NET นั้นจะไม่มีผลต่อการสมัครในปีอื่นด้วย

อ้างอิง https://www.dek-d.com