หน้าแรก » สาระน่ารู้ » ใครจะไปคาดคิดว่า ข้าวสวย 1 ถ้วยที่เรากินต้องแลกมากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมหาศาล
สาระน่ารู้
อัพเดทล่าสุด 07 มีนาคม 2566 , ยอดผู้ชม 1010

ใครจะไปคาดคิดว่า ข้าวสวย 1 ถ้วยที่เรากินต้องแลกมากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมหาศาล


ใครจะไปคาดคิดว่า ข้าวสวย 1 ถ้วยที่เรากินต้องแลกมากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมหาศาล ! เพราะการทำเกษตรกรรมปล่อยก๊าซมีเทนประมาณ 13 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งก๊าซมีเทนอันตรายกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 25 เท่าเลยทีเดียว อ้างอิงข้อมูลจากวารสารวิชาการ Greenhouse Gas Mitigation in Agriculture 2021

มากไปกว่านั้นจากงานวิจัย ‘คาร์บอนฟุตพรินต์ของการผลิตข้าวสารหอมมะลิ (Carbon Footprinting of Rice Products)’ ได้บอกไว้ว่า ข้าวหอมมะลิ 1 ถุง (ขนาดประมาณ 5 กิโลกรัม) ปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ หรือปริมาณการป

มากไปกว่านั้นจากงานวิจัย ‘คาร์บอนฟุตพรินต์ของการผลิตข้าวสารหอมมะลิ (Carbon Footprinting of Rice Products)’ ได้บอกไว้ว่า ข้าวหอมมะลิ 1 ถุง (ขนาดประมาณ 5 กิโลกรัม) ปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ หรือปริมาณการป
ล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์มากถึง 39 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์
รวมถึงการปลูกข้าวเป็นขั้นตอนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากสุด 95% ของกระบวนการทั้งหมด หากรวมกับขั้นตอนการผลิตถุงข้าวหรือการขนส่ง ซึ่งก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนมากถึง 34 เท่า

หากเจาะลึกถึงวิธีการทำนาแบบดั้งเดิมของไทยจะพบว่า ชาวนาส่วนใหญ่ปลูกข้าวแบบขังน้ำในนาเป็นเวลานาน ซึ่งจะมีเศษซากพืชสะสมปริมาณมาก เมื่อสิ่งเหล่านี้ย่อยสลายแบบไร้อากาศจะทำให้เกิดก๊าซมีเทนปล่อยในชั้นบรรยากาศ รวมถึงประเทศไทยเป็นแหล่งเกษตรกรรมเป็นหลัก มีพื้นที่ปลูกข้าวมากกว่า 64 ล้านไร่และปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวเช่นเดียวกัน

แนวทางแก้ปัญหาการปลูกข้าวลดก๊าซเรือนกระจก นั่นคือการจัดการน้ำในแปลงนา ซึ่งมี 3 วิธีหลักคือ วิธีขังน้ำต่อเนื่องในระยะเวลาปลูกข้าว วีธีผันน้ำกลางฤดูทำนา และวิธีผันน้ำหลายครั้งหรือเรียกว่า ‘การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง’ ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 50% พร้อมทั้งลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตทางเกษตรได้มากกว่าเคย


ขอขอบคุณข้อมูลจาก a day